วันที่ 5 กันยายน 2565 นายสัตวแพทย์สมบัติ ศุภประภากร ปศุสัตว์จังหวัดพะเยา พร้อมด้วย ดร.พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์ นักวิจัยไก่พื้นเมืองเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตและเชื่อมโยงการตลาดไก่พื้นเมืองในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ร่วมกับนายประจวบ เสนาธรรม ปศุสัตว์อำเภอเชียงคำ นางสาวสุนิสา แป้นงาม หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ และนายนนทกานต์ สักลอ เจ้าพนักงานสัตวบาล ร่วมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกพืชเลี้ยงสัตว์บ้านดอยอิสาน ตำบลอ่างทอง สมาชิกจำนวน 18 ราย เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการเลี้ยงไก่เหลืองบุษราคัมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ติดตามผลการเลี้ยงไก่เหลืองบุษราคัมของสมาชิกกลุ่มฯ รวมทั้งปัญหาอุปสรรค ซึ่งปัจจุบันสมาชิกกลุ่มฯ ได้รับการพัฒนาเป็นฟาร์ม GFM จำนวน 14 ฟาร์ม มีไก่รวม จำนวน 289 ตัว โดยประชุมจัดเตรียมความพร้อมและแผนการผลิตและสร้างเครือข่ายเพื่อรวบรวมไก่เหลืองบุษราคัมแปรรูปจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่จังหวัดพะเยา และจังหวัดใกล้เคียง พร้อมกันนี้ ได้ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคของกลุ่มฯ ได้แก่ ลูกไก่ที่ฟักออกมาโดยส่วนใหญ่จะเป็นเพศผู้มากกว่าเพศเมีย ทำให้ประสบปัญหา การคัดเลือกไก่เพศเมียไว้เป็นแม่พันธุ์ในอนาคต ซึ่งในส่วนนี้คณะนักวิจัยฯ รับไปพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา รวมถึงแก้ปัญหาเลือดชิดในฝูง โดยการประสานศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอรับการสนับสนุนพันธุ์ไก่เหลืองทองฮ่องไคร้ แล้วนำมาคัดเลือกเป็นพ่อพันธุ์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ในฝูง นอกจากนี้ยังพบปัญหาเรื่องตู้ฟักไข่ มีการฟักออกต่ำ ซึ่งจะได้ดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมเพื่อให้ใช้งานได้ปรกติต่อไป
S 96641037
S 96641038
S 96641039
S 96641040
S 96641042
83
วันที่ 5 กันยายน 2565
นายสัตวแพทย์สมบัติ ศุภประภากร ปศุสัตว์จังหวัดพะเยา พร้อมด้วย ดร.พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์ นักวิจัยไก่พื้นเมืองเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตและเชื่อมโยงการตลาดไก่พื้นเมืองในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ร่วมกับนายประจวบ เสนาธรรม ปศุสัตว์อำเภอเชียงคำ นางสาวสุนิสา แป้นงาม หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ และนายนนทกานต์ สักลอ เจ้าพนักงานสัตวบาล ร่วมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกพืชเลี้ยงสัตว์บ้านดอยอิสาน ตำบลอ่างทอง สมาชิกจำนวน 18 ราย เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการเลี้ยงไก่เหลืองบุษราคัมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ติดตามผลการเลี้ยงไก่เหลืองบุษราคัมของสมาชิกกลุ่มฯ รวมทั้งปัญหาอุปสรรค ซึ่งปัจจุบันสมาชิกกลุ่มฯ ได้รับการพัฒนาเป็นฟาร์ม GFM จำนวน 14 ฟาร์ม มีไก่รวม จำนวน 289 ตัว โดยประชุมจัดเตรียมความพร้อมและแผนการผลิตและสร้างเครือข่ายเพื่อรวบรวมไก่เหลืองบุษราคัมแปรรูปจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่จังหวัดพะเยา และจังหวัดใกล้เคียง พร้อมกันนี้ ได้ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคของกลุ่มฯ ได้แก่ ลูกไก่ที่ฟักออกมาโดยส่วนใหญ่จะเป็นเพศผู้มากกว่าเพศเมีย ทำให้ประสบปัญหา การคัดเลือกไก่เพศเมียไว้เป็นแม่พันธุ์ในอนาคต ซึ่งในส่วนนี้คณะนักวิจัยฯ รับไปพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา รวมถึงแก้ปัญหาเลือดชิดในฝูง โดยการประสานศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอรับการสนับสนุนพันธุ์ไก่เหลืองทองฮ่องไคร้ แล้วนำมาคัดเลือกเป็นพ่อพันธุ์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ในฝูง นอกจากนี้ยังพบปัญหาเรื่องตู้ฟักไข่ มีการฟักออกต่ำ ซึ่งจะได้ดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมเพื่อให้ใช้งานได้ปรกติต่อไป
******************
รายงานโดย กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพะเยา
 
 
 
 
 
+2
 
3ครรชิต ศรีพลาน, Pat Prapas และ อีก 1 คน