วันที่ 2 สิงหาคม 2567 นายสัตวแพทย์กฤษณิ์ พิมพ์งาม ปศุสัตว์จังหวัดพะเยา พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ร่วมงานโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตปศุสัตว์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยมีนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดงานฯ ทั้งนี้มีผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผ่านระบบประชุมทางไกลไปยังศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดแสดงผลงานและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการส่งเสริมและการผลิตปศุสัตว์ในหน่วยงานสังกัดกรมปศุสัตว์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้แก่เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รวมถึงการขับเคลื่อนกลไกในการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปศุสัตว์ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อภาคปศุสัตว์ให้เกิดการตระหนักรู้ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อการปฏิบัติงานส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปศุสัตว์ของกรมปศุสัตว์ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ให้สอดคล้องและบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตปศุสัตว์ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนในครั้งนี้ จัดขึ้น ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ และ ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ รวมถึงหัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนพี่น้องเกษตรกรเข้าร่วมในพิธีเปิด ผ่านระบบประชุมทางไกลจากห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ นิทรรศการแสดงผลงาน ได้แก่ พันธุกรรมสัตว์พันธุ์ดีของประเทศไทย เครือข่ายสัตว์พันธุ์ดีของกรมปศุสัตว์ การจัดการอาหารสัตว์เพื่อการลดต้นทุนการผลิต ผลงานความสําเร็จด้านการผลิตสัตว์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการส่งเสริมและการผลิตปศุสัตว์ต่างๆ เช่น การสาธิตนวัตกรรมพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ ระบบน้ำอัจฉริยะเพื่อการจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์ การตัดพืชอาหารสัตว์ด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร การเก็บสํารองเสบียงสัตว์ด้วยเครื่องม้วนก้อนหญ้าด้วยพลาสติก การใช้เทคโนโลยีการจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์ด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมนําร่องการสํารองเสบียงสัตว์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในยามขาดแคลน และช่วยเหลือเกษตรกรเลี้ยงโคนม - โคเนื้อ ในช่วงประสบภัยพิบัติ และการเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ “การพัฒนางานส่งเสริมปศุสัตว์ เชิงบูรณาการ” ภายใต้โครงการ พัฒนาศักยภาพนักส่งเสริม ปศุสัตว์และผู้นําเครือข่ายเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ตอนบน เพื่อนําไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมมอบโคพันธุ์บีฟมาสเตอร์ยืมเพื่อการผลิตให้กับเกษตรกร จำนวน 6 ตัว พร้อมมอบเสบียงสัตว์ และมอบเมล็ดพันธุ์ท่อนพันธุ์พืชอาหารสัตว์ โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพะเยาได้ร่วมจัดนิทรรศการ เครือข่ายโคเนื้อดอกคำใต้ แก่ผู้ที่สนใจอีกด้วย

12
1.1
1.2
1
3
4
5
8
10
11
1.3
6

รายงานโดย กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพะเยา

“ครอบครัวปศุสัตว์ พร้อมให้บริการ ทำด้วยใจ ทำให้ไว ทำได้จริง”