วันที่ 10 มีนาคม 2565 นายสัตวแพทย์สมบัติ ศุภประภากร ปศุสัตว์จังหวัดพะเยา พร้อมด้วย นางสาวสุนิสา แป้นงาม หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์และนายจักริน ระวีศรี ปศุสัตว์อำเภอภูซางเข้าร่วมพิธีเปิด โครงการเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ประจำปีงบประมาณ 2565 (เป้าหมายเกษตรกร 10 ราย) ในโอกาสนี้ นสพ.สมบัติ ศุภประภากร ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดในการอบรมเกษตรกร พร้อมทั้งพบปะพูดคุย ให้คำแนะนำและตอบข้อซักถามจากเกษตรกรในเรื่องต่างๆดังนี้

1. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานให้เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) และแนะนำระดับเกษตรกรปราดเปรื่องในระดับต่างให้แก่เกษตรกรซึ่งประกอบด้วย Developing Smart Farmer (DSF), Smart Farmer (SF) และ Smart Farmer Model (SFM) ซึ่งแต่ละระดับมีเกณฑ์การประเมินตามระดับและตัวบ่งชี้เพื่อพัฒนาไปสู่การรับรองมาตรฐานการดำเนินการฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม Good Farming Management (GFM) และการรับรองมาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี Good Agricultural Practice (GAP)
2. แนะนำแนวทางในการพัฒนาการเลี้ยงโคกระบือของเกษตรกรรายย่อยให้เป็นระบบปราณีต (Intensive Farm) ซึ่งต้องมีการจัดการโรงเรือนที่เหมาะสม มีแปลงหญ้าสำหรับใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่ดีไว้ทำพันธุ์และจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะ
3. ให้คำแนะนำในการตลาดโดยยกตัวอย่างจากคุณต้อม ปิยะบัตร แสงศรีจันทร์ (ส.ปิยะฟาร์ม) ซึ่งเข้าร่วมโครการ Young Smart Farmer และเป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงควายเชิงธุรกิจแบบครบวงจรในอำเภอเชียงคำ ซึ่งมีฟาร์มเลี้ยงกระบือที่เป็นการเลี้ยงแบบเลี้ยงขุนและส่งออกทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นเครือข่ายในการช่วยเหลือเกษตรกรในการจัดหาตลาดและลดภาระต้นทุนในการขนส่งอีกจากการซื้อควายภาคอีสาน
4. ให้คำแนะนำเรื่องแหล่งเงินทุนในการเพิ่มแม่พันธุ์ เช่นโครงการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชนและโครงการสานฝันสร้างอาอาชีพและยกระดับรายได้ของเกษตรกร (โครงการความร่วมมือระหว่าง กรมปศุสัตว์และธกส. โดยสามารถกู้ได้รายละ 100,000 บาท สามารถซื้อแม่พันธุ์ได้ 3 ตัวเพื่อนำมาต่อยอดในการเลี้ยงโคกระบือ) ซึ่งทางปศุสัตว์จังหวัดพะเยามีน้ำเชื้อพ่อพันธุ์โค กระบือที่มีลักษณะสายพันธุ์ที่ดีไว้สำหรับบริการเกษตรกรเพื่อปรับปรุงสายพันธุ์ให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังแนะนำแนวทางในการแสวงหาแหล่งเงินทุนในการจัดซื้อเครื่องอัดฟางเพื่อจัดทำเสบียงอาหารสัตว์เพื่อรองรับการเลี้ยงโค กระบือ
5. กรมปศุสัตว์มีนโยบาย “Sandboxปศุสัตว์” เพื่อส่งเสริมการส่งออกโค กระบือไปยังจีนและแพะไปยังประเทศมาเลเซีย โดยกรมปศุสัตว์ได้การเจรจากับเจ้าหน้าที่จีน ซึ่งจะมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงเรื่องการส่งออกโคกระบือและระบบการขนส่งผ่านรถไฟความเร็วสูงในโอกาสต่อไป

S 81010690S 81010692S 81010693S 81010695S 81010696

83

 

ข่าว: รายงานโดย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพะเยา