วันที่ 9-10 มกราคม 2566 นายสัตวแพทย์สมบัติ ศุภประภากร ปศุสัตว์จังหวัดพะเยา มอบหมายให้นายอนุสรณ์ รัฐอนันต์พินิจ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ฯ นายกฤษณิ์ พิมพ์งาม หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ นายธีรชัย ชัยธรรม ปศุสัตว์อำเภอเชียงม่วน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพะเยา รวมจำนวน 7 คน เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเลี้ยงและการผลิตกระบือคุณภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าและกำลังการผลิตตามนโยบายของกรมปศุสัตว์ เพื่อนำแนวทางมาส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในพื้นที่จังหวัดพะเยา ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน การยกระดับการผลิตกระบือเพื่อการค้าในตลาดท้องถิ่นและต่างประเทศจากฐานทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนนวัตกรรมสร้างพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมชุมชนที่สามารถแก้ไขในการจัดการตนเองในด้านอาชีพพื้นที่จังหวัดพะเยา โดยวันที่ 9 มกราคม 2565 เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ หมออาดฟาร์มควายไทย อยู่เลขที่ 44 ม.5 ตำบลทัพทัน อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี โดยมีนายสะอาด ชาญกิจกรรณ์ เจ้าของฟาร์มให้การต้อนรับและบรรยายให้ความรู้ฯ เพื่อศึกษาแนวทางการเลี้ยงกระบือที่มีการพัฒนาควายไทยให้มีมูลค่า เป็นที่ต้องการของตลาดกระบือสวยงาม สร้างอาชีพทางเลือกให้แก่เกษตรกรผู้สนใจเลี้ยงและพัฒนาพันธุ์กระบือซึ่งภายในฟาร์มมี "เจ้าทองตีนโต" ค่าตัวสูงถึงสิบห้าล้านบาท เป็นกระบือพ่อพันธุ์คุมฝูง ส่วนในวันที่ 10 มกราคม 2566 ได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานการเลี้ยงกระบือ จำนวน 3 ฟาร์ม ได้แก่ 1. ฟาร์มควายกำนันโป๊ด ตำบลหนองกลางดง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี โดยมีนายมนัส คันศร เจ้าของฟาร์ม ได้ให้คำแนะนำการเลี้ยงกระบือเพื่อจำหน่ายเป็นกระบือสวยงาม และพัฒนากระบือสายประกวด มี "เจ้าคชสาร" เป็นกระบือพ่อพันธุ์ที่มีมูลค่าสูงใช้คุมฝูง มีการผลิตนำ้เชื้อเพื่อจำหน่าย ให้แก่เกษตรกรที่สนใจอยากปรับปรุงสายพันธุ์กระบือของตนเองให้เข้าหลักเกณฑ์การประกวดกระบือสวยงาม 2. ฟาร์มบ้านติ๊กควายไทย ตำบลหนองกลางดง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี โดยมีนายวิโรจน์ คุ้มโพธิ์ (ลุงติ๊ก) เจ้าของฟาร์ม มีการเลี้ยงกระบือพ่อ-แม่พันธุ์ มี "เจ้ารู่งเพชร" เป็นกระบือพ่อพันธุ์ที่มีมูลค่าสูงใช้คุมฝูงเพื่อปรับปรุงพันธุ์กระบือในฟาร์มเพื่อเพิ่มมูลค่า 3. มนตรีฟาร์ม ควายงามบ้านคูเมือง อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี โดยมีนายมนตรี ชูอินทร์ เป็นเจ้าของฟาร์มซึงเป็นเกษตรกรเริ่มต้นจากการเลี้ยงกระบือเพศเมีย ที่ได้รับจากโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ปี พ.ศ.2550 จำนวน 1 ตัว พัฒนาการเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์เรื่อยมา จนปัจจุบันในฟาร์มมีกระบือที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์เป็นกระบือมูลค่าสูงจำนวนหลายสิบตัวมี "เจ้าเพิ่มโชค" เป็นกระบือพ่อพันธุ์ที่มีมูลค่าสูงใช้คุมฝูงเพื่อปรับปรุงพันธุ์กระบือในฟาร์ม ทั้งนี้ทุกฟาร์มยังพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้คำแนะนำให้กับเกษตรกรที่มีความสนใจที่อยากยกระดับการเลี้ยงกระบือ และเพิ่มมูลค่าของกระบือให้สูงขึ้น สามารถสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรต่อไป
14
1
2 3 4 5 7 8 9 10 11 11 12 13 18 83 กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการปศุสัตว์ : รายงาน